TOA | สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย THE THAI ORTHOPAEDIC ASSOCIATION TOA | สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย THE THAI ORTHOPAEDIC ASSOCIATION TOA | สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย THE THAI ORTHOPAEDIC ASSOCIATION

Sidebar

  • หน้าหลัก
  • สำหรับประชาชน
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ข้อบังคับสมาคม
    • ภารกิจและวิสัยทัศน์
    • คณะกรรมการสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • สื่อประชาสัมพันธ์
  • สำหรับสมาชิก
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • สื่อประชาสัมพันธ์
  • กิจกรรมสมาคม
  • ติดต่อสมาคม
    • ร่วมประกวดคำขวัญ
  • มูลนิธิ
    • ประวัติมูลนิธิฯ
    • คณะกรรมการมูลนิธิฯ
  • หน้าหลัก
  • สำหรับประชาชน
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ข้อบังคับสมาคม
    • ภารกิจและวิสัยทัศน์
    • คณะกรรมการสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • สื่อประชาสัมพันธ์
  • สำหรับสมาชิก
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • สื่อประชาสัมพันธ์
  • กิจกรรมสมาคม
  • ติดต่อสมาคม
    • ร่วมประกวดคำขวัญ
  • มูลนิธิ
    • ประวัติมูลนิธิฯ
    • คณะกรรมการมูลนิธิฯ

อันตรายจากเสิร์ฟสเก็ต (surf skate)

อันตรายจากเสิร์ฟสเก็ต (surf skate)

พ.ท.ญาณินภ์ ปลื้มอารมย์
17 พฤษภาคม 2565
2713
Empty
  • พิมพ์

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรค Covid-19     ทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีชีวิตใหม่ (new normal) ทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตในการอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้มีการเริ่มทำกิจกรรมใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาในชีวิตประจำวัน กิจกรรมหนึ่งที่คนไทยพยายามที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตคือการเล่นกีฬาหรือการทำกิจกรรมภายในครอบครัว หากเราสังเกตจะพบว่ามีการเล่นกีฬาชนิดใหม่เกิดขึ้นและเป็นที่นิยมแพร่หลายคือการเล่น  surf skate ซึ่งจะมีการใช้อุปกรณ์การเล่นคล้ายกับการเล่น skate board แต่อย่างไรก็ตามด้วยอุปกรณ์และวิธีการเล่นกีฬาชนิดนี้ที่ต่างไปจากการเล่น skate board ก็ทำให้มีการบาดเจ็บแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ไปตามวิถีชีวิตแบบใหม่

ความแตกต่างระหว่าง surf skate และ skate board

ความสูงของ surf skate จะสูงมากกว่า skate board ความยืดหยุ่นของล้อ surf skate มีมากกว่า เพราะฉะนั้นเราจะสังเกตลักษณะการเล่น surf skate จะมีการเคลื่อนตัวไปได้จะต้องใช้การเหวี่ยงตัวหรือสะโพก มีการเอียงของข้อเท้าและแผ่นรองที่จะทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนอุปกรณ์ไปได้ ซึ่งจะต่างไปจาก skate board ที่ใช้เท้าหนึ่งไถไปบนพื้นอีกเท้าทรงตัวอยู่บนอุปกรณ์ ดั้งนั้นด้วยวิธีการเล่นของ surf skate จึงมีโอกาสทำให้มีการลื่นตกมาจากอุปกรณ์ได้มากกว่า มีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้รุนแรงกว่าเพราะตกมาจากตำแหน่งที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ skate board และผู้ที่เล่นมักจะเป็นมือสมัครเล่น

การบาดเจ็บจาก surf skate

ดังที่กล่าวไปข้างต้นถึงโอกาสที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุด้วยกลไกการบาดเจ็บและอุปกรณ์ของ surf skate สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บได้หลากหลายขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งใดของร่างกายจะตกมากระทบพื้น ที่พบได้บ่อยในห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกของแผนกศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์คือกระดูกหัก โดยส่วนมากมักจะเป็นกระดูกขาหักที่เกิดกลไลจากการบิดหมุนดังภาพฉายรังสี (X-ray) และภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)  ที่แสดงด้านล่าง

 

รูปแสดงภาพรังสี และภายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ของผู้ป่วยที่มีกระดูกหน้าแข้งขวาหักแบบบิดหมุน โดยผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุลื่นไถลตกจาก surf sake

 

นอกจากนี้ที่พบได้บ่อย คือ กระดูกข้อเท้าหัก ในผู้ป่วยหลายรายจะมีลักษณะการบาดเจ็บที่รุนแรง บางรายอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เนื่องจากศีรษะกระแทกพื้นดังที่เราเคยได้ยินตามสื่อต่าง ๆ

สาเหตุของการบาดเจ็บและการป้องกัน

1.ในผู้เล่นมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการบังคับอุปกรณ์ ทำให้เสียการทรงตัวตกลงมาและเกิดการบาดเจ็บได้ ควรจะต้องมีผู้ที่ชำนาญกว่าคอยดูแลและเริ่มการเล่นด้วยความเร็วที่ไม่มาก หรือมีการเหวี่ยงตัวที่ไม่แรงมากก่อน

2.สถานที่เล่นที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายคือบริเวณที่พื้นขรุขระ มีน้ำท่วมขัง ที่ผู้คนพลุกพล่านหรือมีสิ่งกีดขวาง ทำให้ต้องหลบหลีกก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นผู้เล่นมือใหม่ควรเลือกพื้นที่โล่งแจ้ง พื้นเรียบไม่มีสิ่งกีดขวางก่อน

3.อุปกรณ์ในการเล่นและป้องกันควรเลือกอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานไม่เสื่อมสภาพ เพราะมีโอกาสที่จะทำให้ล้อของ surf skate ติดขัดและทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ที่จะช่วยลดการบาดเจ็บได้ เช่น หมวกกันกระแทก สนับข้อมือ สนับข้อศอก สนับเข่า จะช่วยสามารถลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บได้แต่มักจะถูกละเลยไปเนื่องจากความมั่นใจและประมาท

ผู้เขียนหวังว่าข้อแนะนำ ความรู้นี้จะเป็นข้อคิดและข้อเตือนใจให้กับผู้อ่านได้ระมัดระวัง หลีกเลี่ยง หรือเล่น surf skate ด้วยความปลอดภัยเพื่อที่จะลดการบาดเจ็บได้ไม่มากก็น้อย เนื่องจากการบาดเจ็บโดยเฉพาะถ้ามีกระดูกหักท่านอาจจะต้องได้รับการผ่าตัด เสียเวลาต้องหยุดงานเพื่อทำการรักษาตัวในระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน และทำให้มีการเสียคุณภาพชีวิตได้

                                                                                   

ด้วยความห่วงใยจากสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย

พ.ท.ญาณินภ์ ปลื้มอารมย์ ผู้เขียน

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์

VDO

บทความแนะนำ

  • ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (compartment syndrome)
  • ก้อนเนื้องอกไขมัน (lipoma)
  • โรคเท้าปุก (Clubfoot)
  • เหล็กที่เคยผ่าตัดจะดังหรือไม่.....เมื่อผ่านเครื่องตรวจโลหะ
  • โรครองช้ำหรือพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ Plantar fasciitis
  • Osteochondroma หรือ Exostosis
  • กระดูกสันหลังหักยุบจากโรคกระดูกพรุน
  • 5 ประเด็นสำคัญในการรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ
  • อาการปวดหลังลักษณะใดต้องส่งตรวจภาพเอกซเรย์ เพื่อช่วยการวินิจฉัย?
  • ข้อเข่าเสื่อมและการดูแลรักษาในปัจจุบัน
  1. สำหรับประชาชน
  2. อันตรายจากเสิร์ฟสเก็ต (surf skate)

สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย (The Thai Orthopaedic Association)

เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระบารมี ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : 02-716-5436-7
ติดต่อสมาคม
Copyright © 2023 สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. All Rights Reserved. Develop by MP Graphichouse Co.,Ltd.