TOA | สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย THE THAI ORTHOPAEDIC ASSOCIATION TOA | สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย THE THAI ORTHOPAEDIC ASSOCIATION TOA | สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย THE THAI ORTHOPAEDIC ASSOCIATION

Sidebar

  • หน้าหลัก
  • สำหรับประชาชน
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ข้อบังคับสมาคม
    • ภารกิจและวิสัยทัศน์
    • คณะกรรมการสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • สื่อประชาสัมพันธ์
  • สำหรับสมาชิก
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • สื่อประชาสัมพันธ์
  • กิจกรรมสมาคม
  • ติดต่อสมาคม
    • ร่วมประกวดคำขวัญ
  • มูลนิธิ
    • ประวัติมูลนิธิฯ
    • คณะกรรมการมูลนิธิฯ
  • หน้าหลัก
  • สำหรับประชาชน
  • เกี่ยวกับสมาคมฯ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ข้อบังคับสมาคม
    • ภารกิจและวิสัยทัศน์
    • คณะกรรมการสมาคมฯ
    • สารจากนายกสมาคมฯ
    • สื่อประชาสัมพันธ์
  • สำหรับสมาชิก
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • สื่อประชาสัมพันธ์
  • กิจกรรมสมาคม
  • ติดต่อสมาคม
    • ร่วมประกวดคำขวัญ
  • มูลนิธิ
    • ประวัติมูลนิธิฯ
    • คณะกรรมการมูลนิธิฯ

โรคเท้าปุก (Clubfoot)

โรคเท้าปุก (Clubfoot)

พ.ท.นพ.ปวิณ คชเสนี ,ร.อ.นพ.นนท์ มีนานนท์
17 ธันวาคม 2564
17037
Empty
  • พิมพ์

เท้าปุกคืออะไร
โรคเท้าปุก ภาษาอังกฤษเรียกว่า clubfoot (ไม้กอล์ฟ) เป็นความผิดปกติของกระดูกเท้าและข้อเท้าตั้งแต่แรกเกิด ประกอบด้วยเท้าโก่ง (cavus foot) เท้าส่วนหน้าบิดเข้าด้านใน (forefoot adductus) ส้นเท้าบิดเข้าด้านใน (heel varus) และปลายเท้ากระดกลง (equinus) พบในผู้ชายมากกว่าหญิงสองเท่า และเป็นทั้งสองข้างร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังพบเท้า ส้นเท้าและน่องเล็กกว่าปกติ โรคเท้าปุกแบ่งตามสาเหตุได้สองชนิด คือ ชนิดที่ทราบสาเหตุ เช่น เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ และชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุซึ่งพบได้มาก โดยมักพบตั้งแต่แรกเกิด ไม่มีประวัติบิดามารดาเป็นโรคนี้มาก่อน บางงานวิจัยพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องทางพันธุกรรมได้ร้อยละ 3-4 ซึ่งไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของบิดามารดาแต่อย่างใด โรคเท้าปุกนี้หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดความผิดรูปของเท้าและข้อเท้าอย่างถาวรทำให้มีผลต่อการเดินและการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคต หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะได้ผลการรักษาที่ดีมาก

การรักษา
เดิมการรักษาโรคเท้าปุกมักรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติ แต่พบภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างมาก เช่น แผลผ่าตัดติดเชื้อ ผิวหนังบริเวณที่ผ่าตัดตาย ข้อติดแข็ง เป็นต้น ภายหลังมีการคิดค้นวิธีการดัดรูปเท้าโดยไม่ต้องผ่าตัด โดย ศาสตราจารย์ นพ. Ponseti (พอนเซติ) ศัลยแพทย์กระดูก มหาวิทยาลัยไอโอวา รัฐไอโอวา สหรัฐอเมริกา คิดค้นวิธีการนี้ตั้งแต่ คศ 1950 และได้รับการยอมรับไปทั่วโลกในระยะเวลาต่อมา จึงนิยมเรียกวิธีการรักษาแบบนี้ว่า Ponseti
การรักษาโรคเท้าปุกเริ่มในระยะตั้งแต่แรกเกิด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดัดเท้าแก้ไขโดยยกปลายนิ้วหัวแม่เท้า กางและหมุนหน้าเท้าออกไปในทิศทางตรงข้ามกับรูปเท้าที่ผิดปกติเป็นระยะเวลาประมาณ 1 นาที และใส่เฝือกตั้งแต่ปลายนิ้วเท้าถึงบริเวณขาหนีบ เพื่อคงรูปเท้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ดัดไว้ในแต่ละสัปดาห์ รูปร่างของเท้าจะค่อย ๆ เคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงปกติมากขึ้นในการเปลี่ยนเฝือกแต่ละครั้ง การดัดแก้ไขและใส่เฝือกด้วยวิธี Ponseti (รูปที่ 1) นี้สามารถแก้ไขโรคเท้าปุกได้ภายในระยะเวลา 6-8 สัปดาห์ ภายหลังการใส่เฝือกประมาณ 6-8 ครั้ง หากผู้ป่วยไม่สามารถกระดกเท้าได้ถึง 15-20 องศา ผู้ป่วยจะได้รับการสะกิดเอ็นร้อยหวายเพื่อให้เท้าสามารถกระดกขึ้นได้ และใส่เฝือกต่ออีกประมาณ 3 สัปดาห์เพื่อคงรูปเท้าให้อยู่ในรูปที่แก้ไขมาแล้วข้างต้น
หลังถอดเฝือกแพทย์จะแนะนำให้ใส่รองเท้าพยุงเท้าให้เท้ากางออกและกระดกขึ้นจนเด็กมีอายุถึงประมาณ 3-4 ขวบ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ สำหรับโรคเท้าปุกชนิดเกิดจากความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและเส้นประสาท หรือพบร่วมกับโรคกลุ่มอาการต่างๆ การรักษาจะมีความซับซ้อนมากขึ้นและอาจต้องรักษาโดยวิธีการผ่าตัด

ผลการรักษาที่คาดว่าจะได้รับ
ภายหลังการรักษา เท้าจะดูปกติและมีผลการรักษาที่ดีเยี่ยม ซึ่งอัตราความสำเร็จจากการศึกษามากกว่าร้อยละ 95 โดยไม่ก่อให้เกิดความพิการและเด็กจะใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข อย่างไรก็ตามเท้าที่เป็นเท้าปุกจะสั้นกว่า และแคบกว่าข้างปกติเล็กน้อย ประมาณ 0.5-1.0 ซม. และขนาดรอบขาของข้างที่เป็นเท้าปุกจะเล็กกว่าข้างปกติ 2.3 ซม.
การกลับมาเป็นซ้ำ สามารถเกิดได้ในระยะเวลา 2-3 ปีแรก ซึ่งต้องแก้ไขโดยการดัดเท้าและใส่เฝือกอีกครั้ง และบางรายอาจต้องเข้ารับการรักษาโดยการย้ายเส้นเอ็น

วันเท้าปุกโลก (world club foot day)
เพื่อให้เห็นความสำคัญของโรคนี้ รวมทั้งวิธีการรักษาที่ถูกต้อง จึงมีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโรคเท้าปุกขึ้นในวันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันเท้าปุกโลก (world club foot day) การกำเนิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2013 โดย Ponseti International Association สถาบันโรงเรียนแพทย์ต่างๆในประเทศไทยก็มีการจัดกิจกรรมทุกปี เพื่อให้ผู้สนใจเข้าร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบกาณ์จากคนไข้ที่เป็นโรคนี้ได้รับการรักษาและกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ (รูปที่ 2)

รูปที่ 1 แสดงวิธีการรักษาเท้าปุกแบบ Ponseti และการใส่รองเท้าพยุงเท้าภายหลังการรักษาโดยการใส่เฝือก

รูปที่ 2 แสดงการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วันเท้าปุกโลก 

 

เอกสารอ้างอิง

1. Staheli L, Ponseti I, et al. Book. 2009. GHO Publications. Clubfoot: Ponseti Management ฉบับภาษาไทย การรักษาเท้าปุกแบบ Ponseti
2. Ponseti IV, Smoley EN. The classic: congenital club foot: the results of treatment. 1963. Clin Orthop Relat Res. 2009 May;467(5):1133-45.
3. Zionts LE, Ebramzadeh E, Morgan RD, Sangiorgio SN. Sixty Years On: Ponseti Method for Clubfoot Treatment Produces High Satisfaction Despite Inherent Tendency to Relapse. J Bone Joint Surg Am. 2018 May 2;100(9):721-728.

VDO

tag: สมาคมออร์โธปิดิคส์, กระดูกพรุน, โรคเท้าปุก, ปลายเท้ากระดก, เท้าส่วนหน้าบิด

บทความแนะนำ

  • ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง (compartment syndrome)
  • ก้อนเนื้องอกไขมัน (lipoma)
  • โรคเท้าปุก (Clubfoot)
  • เหล็กที่เคยผ่าตัดจะดังหรือไม่.....เมื่อผ่านเครื่องตรวจโลหะ
  • โรครองช้ำหรือพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ Plantar fasciitis
  • Osteochondroma หรือ Exostosis
  • กระดูกสันหลังหักยุบจากโรคกระดูกพรุน
  • 5 ประเด็นสำคัญในการรักษากระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ
  • อาการปวดหลังลักษณะใดต้องส่งตรวจภาพเอกซเรย์ เพื่อช่วยการวินิจฉัย?
  • ข้อเข่าเสื่อมและการดูแลรักษาในปัจจุบัน
  1. สำหรับประชาชน
  2. โรคเท้าปุก (Clubfoot)

สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย (The Thai Orthopaedic Association)

เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระบารมี ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : 02-716-5436-7
ติดต่อสมาคม
Copyright © 2023 สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. All Rights Reserved. Develop by MP Graphichouse Co.,Ltd.