1. ชนิดของกระดูกหักและการเลือกวิธีรักษา (Surgical option)
2. ระยะเวลาที่เหมาะสม (Timing)
3. การรักษาด้วยยา (Medication)
4. การทำกายภาพบำบัดและฝึกเดิน (Rehabilitation)
5. การป้องกันการล้ม (Fall prevention)
1. ชนิดของกระดูกหักและการเลือกวิธีรักษา (Surgical option) ก่อนจะทราบชนิดของกระดูกหัก ควรจะทราบถึงสาเหตุของกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุก่อนว่ามักเกิดจากการหกล้ม ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำหรับการเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ได้แก่
- ผู้ป่วยที่มีโรคกระดูกพรุน มักเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกสะโพกหักสูง เพราะโรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ทำให้กระดูกบาง อ่อนแอ และหักง่าย
- เพศหญิง รูปร่างผอมบาง ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว
ชนิดของกระดูกสะโพกหัก มี 2 แบบ คือ ส่วนคอของกระดูกสะโพกหัก และส่วนที่อยู่ระหว่างปุ่มกระดูกใหญ่และปุ่มกระดูกเล็กของกระดูกสะโพกหัก โดย
แบบที่ 1 รักษาด้วยการเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม สำหรับส่วนคอของกระดูกสะโพกหัก ดังรูปที่ 1a และ 1b
แบบที่ 2 รักษาด้วยการจัดกระดูกและยึดด้วยเหล็ก สำหรับส่วนที่อยู่ระหว่างปุ่มกระดูกใหญ่และปุ่มกระดูกเล็กของกระดูกสะโพกหัก ดังรูปที่ 2a และ 2b
อาการ
- ปวดที่บริเวณสะโพกมาก
- ลงน้ำหนักที่ขาหรือยืนไม่ได้
- บริเวณสะโพกจะรู้สึกขัดๆ มีรอยฟกช้ำ และบวม
- ขาข้างที่มีกระดูกสะโพกหักจะสั้น ไม่อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ขาจะหมุนเข้าหรือออก
2. ระยะเวลาที่เหมาะสม (Timing) ผ่าตัดให้เร็วที่สุด ภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสเกิดเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดที่ล่าช้า
ภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหัก จะไม่สามารถขยับได้มาก ดังนั้นอาจเกิดโรคภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ดังนั้นการผ่าตัดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหว หรือเดินได้ จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้
3. การรักษาด้วยยา (Medication)
แคลเซียม โดยทั่วไป ร่างกายต้องการ 1000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในภาวะกระดูกหัก ร่างกายมีความต้องการแคลเซียมมากขึ้น (1500 มิลลิกรัมต่อวัน) โดยแคลเซียมสามารถพบได้จากอาหารและเม็ดยา
อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม งาดำ ปลาตัวเล็กที่ทานได้ทั้งตัว ผักใบเขียว เช่น คะน้า บรอกโคลี
ยาแคลเซียม มีทั้งแบบเม็ด และแบบเป็นเม็ดยาที่ละลายน้ำ
วิตามินดี โดยทั่วไป ร่างกายต้องการ 800-1000 หน่วยสากล (International Unit)ต่อวัน
อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ ปลาทู ปลาแซลมอน Cheese เห็ดต่างๆ ถั่วเน่าญี่ปุ่น แสงแดดอ่อนๆ ช่วงเช้า
ยาเม็ดวิตามินดี แบบรับประทานทุกวัน หรือแบบรับประทานสัปดาห์ละครั้ง วิตามินดีสามารถพบได้จากพืชและจากสัตว์
ยาต้านกระดูกพรุน มี 2 รูปแบบคือชนิดรับประทานและชนิดฉีด โดยชนิดรับประทานมีรูปแบบที่เป็นเม็ด สัปดาห์ละเม็ด เดือนละเม็ด คำแนะนำ ห้ามบดเคี้ยว ห้ามนอนราบ 6 ชม ดื่มน้ำมากๆในขณะที่รูปแบบฉีด มีทั้งแบบฉีดทุกวัน (กลุ่มยากระตุ้นการสร้างกระดูก) และแบบฉีดทุก 3 6 เดือน และ 1 ปี (กลุ่มยาต้านการทำลายกระดูก)
4. การทำกายภาพบำบัดและฝึกเดิน (Rehabilitation)
การทำกายภาพบำบัดเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากภายหลังการผ่าตัดกระดูกสะโพกหัก เพราะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ช่วยตนเองได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ หลังจากการผ่าตัด แพทย์ พยาบาล หรือ นักกายภาพบำบัดมีการเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูบำบัดผู้ป่วย โดยจะเริ่มจากการค่อยๆ ออกกำลังข้อสะโพกอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากนั้นก็จะให้ผู้ป่วยเริ่มใช้ไม้ค้ำยัน ไม้เท้า หรือเครื่องช่วยเดินอื่นๆ ผู้ป่วยแต่ละท่านจะมีอาการแตกต่างกันไป ดังนั้นนักกายภาพบำบัดทำการประเมินผู้ป่วยและให้การรักษาอย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย
5.การป้องกันการล้ม (Fall prevention)
การดูแลผู้ป่วยระยะพักฟื้น การทำกายภาพบำบัดและฟื้นฟูร่างกายโดยทีมสหสาขาเป็นอีกทางเลือก ที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงได้เร็วขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้โดยไม่เป็นภาระของครอบครัว ลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเข้ารักษาซ้ำ (Re – Admission) ที่โรงพยาบาล โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านระบบประสาทและสมอง ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหว เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเกิดการตระหนักรู้ในการป้องกันการหกล้ม และมีความสามารถในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ แพทย์จะทำการตรวจประเมินความเสี่ยงในการหกล้ม ให้การรักษาด้วยโปรแกรมฝึกความสามารถในการทรงตัวและการเคลื่อนไหว
โดยแนวทางป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ได้แก่ ฝึกเดินให้ถูกต้อง, สวมรองเท้าที่เหมาะสม, ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกำลังของกล้ามเนื้อสะโพกและขา, ฝึกการทรงตัว, การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น โครงเหล็ก 4 ขา (Walker) ไม้เท้า การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เช่น ค่อย ๆ ลุกยืนอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตตกในท่ายืน หรือหน้ามืด การหาราวสำหรับเกาะเดิน นอกจากนี้ผู้ป่วยควรสร้างเสริมภาวะโภชนาการที่ดี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
5.การป้องกันการล้ม (fall Prevention) การดูแลผู้ป่วยระยะพักฟื้น การกายภาพ และฟื้นฟูร่างกายโดยทีมสหสาขาเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงได้เร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้โดยไม่เป็นภาระของครอบครัว ลดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเข้ารักษาซ้ำ (Re – Admission) ที่โรงพยาบาล โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านระบบประสาทและสมอง ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหว เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการตระหนักรู้ในการป้องกันการหกล้ม และมีความสามารถในการทรงตัวและการเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ แพทย์จะทำการตรวจประเมินความเสี่ยงในการหกล้ม ให้การรักษาด้วยโปรแกรมฝึกความสามารถในการทรงตัวและการเคลื่อนไหว
โดยแนวทางป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ได้แก่ ฝึกเดินให้ถูกต้อง, สวมรองเท้าที่เหมาะสม, ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกำลังของกล้ามเนื้อ, ฝึกการทรงตัว, การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น โครงเหล็ก 4 ขา (Walker) ไม้เท้า การปรับพฤติกรรมส่วนตัว เช่น ค่อย ๆ ลุกยืนอย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันโลหิตตกในท่ายืน หรือหน้ามืด การหาราวสำหรับเกาะเดิน นอกจากนี้ผู้ป่วยควรสร้างเสริมภาวะโภชนาการที่ดี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่